Domain Name หรือ ชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอ้างถึง server ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ของข้อมูลซึ่งกระจายอยู่ใน ระบบอินเตอร์เน็ตผ่านทางเว็บเบราเซอร์ (web brownser) เช่น IE7, Firefox, Safari เป็นต้น
ในความเป็นจริง การอ้างถึง server แต่ละเครื่องนั้น ผู้ใช้ล้วนอาศัยการสื่อสารด้วยกันเองระหว่างคอมพิวเตอร์ ต่อคอมพิวเตอร์ (หรือระหว่างเซิฟเวอร์ต่อเซิฟเวอร์) ซึ่งอ้างถึงกันด้วยชุดตัวเลข IP (ex. 192.0.34.65) ดังนั้นชื่อโดเมนที่ผู้ใช้อ้างถึงเวลาต้องการเข้าเว็บไซต์จะมีการอ้างต่อไป ยังตัวเลข IP ที่ชื่อโดเมนนั้น ๆในระบบโดเมน (DNS) กำกับอยู่อีกที
ประเภทของชื่อโดเมน
ชื่อโดเมนที่ใช้ตัวอักษร ASCII Character ซึ่งเป็นอักขระลาติน (ตัวอักษรภาษาอังกฤษ)
ชื่อ โดเมนที่ใช้ตัวอักขระท้องถิ่น (Internationalized Domain Name) ซึ่งจะมีชุดตัวอักษรที่ใช้ในโดเมนรูปลักษณ์แตกต่าง กันออกไปตามอักขระท้องถิ่นของชาติต่างๆ
องค์ประกอบของชื่อโดเมน
ในการพิมพ์ชื่อโดเมนโดยทั่วไปจะเริ่มต้นด้วย www ซึ่งเป็นเข้าสู่ระบบโดยการอ้างถึงเอกสารแบบ Hypertext จากนั้นจึงคั่นด้วยจุดและตามด้วยชื่อโดเมน ในแต่ละชื่อโดเมนเนมจะประกอบด้วยชุดตัวอักษร ตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไปที่คั่นด้วยจุด (dot) ซึ่งมีการเรียกแต่ละส่วนของชุดตัวอักษร ในแต่ละชื่อเต็มของโดเมนหนึ่ง ๆ เป็นลำดับ ๆ ไปดังนี้
ส่วนขวาสุด เรียกว่า โดเมนระดับบนสุด (Top-Level Domain) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะปรากฎในทุก ๆ ชื่อโดเมน โดเมนในระดับนี้ยังแบ่งย่อยออกไปเป็นอีกสองประเภทตามลักษณะการบริหารจัดการ และดูแลทรัพยากรโดเมนของ ICANN ได้แก่ โดเมนระดับบนสุดหมวดทั่วไป (Generic Top-Level Domain: gTLD) และ โดเมนระดับบนสุดหมวดรหัสประเทศ (Country-Code Top-Level Domain: ccTLD)
ส่วนถัดจากขวาสุดเข้ามาลำดับที่ 1 เรียกว่า โดเมนลำดับที่สอง (Second-Level Domain) โดยทั่วไปมีการเลือกใช้ทั้งในแบบเป็นชื่อเฉพาะเจาะจงของเว็บไซต์หรือแหล่ง ข้อมูลที่อ้างถึงนั้น ๆ เลย และในแบบที่ใช้ระบุลักษณะ
หรือกลุ่มของชื่อโดเมนนั้นไว้อีกชั้นหนึ่งก่อนที่จะระบุชื่อที่เจาะจงมากขึ้นในโดเมนลำดับถัดๆไป
ส่วนถัดจากขวาสุดเข้ามาลำดับที่ 2 เรียกว่า โดเมนลำดับที่สาม (Third-Level Domain) ซึ่งโดยทั่วไปมักจะเป็นส่วนสุดท้ายและใช้ระบุอย่างเฉพาะเจาะจงถึงเว็บไซต์หรือแหล่งข้อมูลนั้น ๆ
ส่วนถัดจากขวาสุดลำดับที่ 3 และลำดับถัด ๆ ไป
เรียกว่าโดเมนลำดับที่ 4 ลำดับที่ 5 หรือลำดับถัด ๆ ไป เป็นการแบ่งส่วนของชื่อโดเมน ที่แยกย่อยลงไป
เทคนนิคการตั้งชื่อ Domain
ใช้ชื่อแบรนด์หรือธุรกิจของคุณเอง
แม้จะเป็นการตั้งชื่อที่ง่ายที่สุด แต่สามารถสร้างการจดจำให้กับแบรนด์หรือบริษัทของคุณได้มากทีเดียว การใช้ชื่อเว็บไซต์ที่เป็นชื่อเดียวกันกับชื่อแบรนด์นั้นจะไม่เป็นการสร้างความสับสนให้กับผู้ใช้งานเวลาที่พวกเขาค้นหาชื่อโดเมนของคุณ
สั้นๆ เข้าใจง่าย
ชื่อโดเมนที่สั้นจะง่ายต่อการจดจำและการพิมพ์ ทำให้ผู้ใช้งานค้นหาคุณเจอได้มากยิ่งขึ้น จำนวนตัวอักษรที่พบว่าไม่สั้นไม่ยาวจนเกินไปนั้นจะอยู่ระหว่าง 6-14 ตัว ถือว่าเป็นขนาดที่กำลังพอเหมาะพอดี
สะกดง่าย ออกเสียงได้ไม่สับสน
แม้ชื่อโดเมนของคุณจะโดดเด่นเข้าตาขนาดไหน แต่หากผู้ใช้งานจำวิธีการเขียนชื่อนั้นไม่ได้ก็เปล่าประโยชน์ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรแปลกๆ หรือวิธีการสะกดแบบคำแสลง ซึ่งอาจสร้างความสับสนต่อการใช้งานได้ ตัวอย่างเช่น การใช้ตัวอักษร “u” แทนคำว่า “you” เป็นต้น อาจดูเท่ก็จริงแต่ขณะเดียวกันก็อาจทำให้ผู้คนค้นหาคุณเจอได้ยากขึ้น ดังนั้นจึงควรใช้คำที่หลายๆ คนสามารถสะกดได้ และอ่านได้ง่ายโดยไม่เกิดความสับสนหรือสงสัย
บอกว่าเราทำอะไร ด้วยการเพิ่ม ‘คีย์เวิร์ด’
วิธีนี้จะยิ่งทำให้ผู้คนค้นหาคุณเจอมากยิ่งขึ้น ด้วยการใช้คำที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ของคุณหรือสิ่งที่คุณทำ เช่น “bakery” “teacher” “repair” เป็นต้น คีย์เวิร์ดเหล่านี้สามารถทำให้ผู้คนเข้าใจได้ในทันทีว่าคุณทำอะไร นอกจากนั้นการเลือกใช้คำสามัญทั่วไปมาอยู่ในชื่อโดเมนยังง่ายต่อการถูกเจอในหน้า Google อีกด้วย เนื่องจากเป็นคำที่ผู้คนมักจะค้นหาเมื่อต้องการข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการต่างๆ แต่อาจจะต้องระวังว่าการเพิ่มคีย์เวิร์ดเหล่านี้เข้ามาจะทำให้ชื่อโดเมนของคุณยาวจนเกินไปและยากต่อการจดจำหรือไม่
หลีกเลี่ยงการพิมพ์ตัวอักษรหรือตัวเลขที่เรียงซ้ำๆ ติดกัน
การมีตัวเลขอยู่ในชื่อโดเมนอาจทำให้ยากต่อการพิมพ์ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่คุณต้องการพูดถึงชื่อเว็บไซต์ของคุณแบบปากเปล่า ผู้คนอาจเกิดความสับสนได้ง่ายว่าต้องพิมพ์เป็นตัวเลขหรือเป็นตัวอักษรกันแน่ นอกจากนั้นการใช้ตัวอักษรหรือตัวเลขพิมพ์เรียงกันซ้ำๆ ยังทำให้ชื่อโดเมนของคุณอ่านยากและดูไม่สะอาดตาอีกด้วย ที่สำคัญคือ ทั้งตัวเลขและการพิมพ์ตัวอักษรเรียงซ้ำๆ ติดกัน อาจลดความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์และธุรกิจของคุณได้
หลีกเลี่ยงการตั้งชื่อที่อาจก่อให้เกิดความสับสนต่อแบรนด์ของคุณและผู้อื่น
เมื่อคุณเลือกชื่อโดเมนที่ต้องการได้แล้ว ให้คุณตรวจสอบให้แน่ใจว่าชื่อโดเมนของคุณมีคำที่อาจก่อให้เกิดปัญหาด้านลิขสิทธิ์หรือทำให้ผู้อื่นเกิดความสับสนหรือไม่ เช่น หากคุณทำธุรกิจขายมือถือ และชื่อเว็บไซต์ของคุณคือ applephoneshop.co.th ซึ่งเราทุกคนทราบกันดีว่า ‘Apple’ คือชื่อแบรนด์ที่มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอย่างถูกต้อง การตั้งชื่อลักษณะนี้นอกจากจะก่อให้เกิดความาสับสน ยังอาจเกิดปัญหาฟ้องร้องทางลิขสิทธิ์ตามมาอีกด้วย ดังนั้นก่อนที่คุณจะใช้ชื่อโดเมนใดๆ ควรเช็คให้ดีก่อนว่าคำที่คุณเลือกใช้นั้นจะทำให้เกิดปัญหาตามมาหรือไม่
สรุป
การตั้งชื่อโดเมนถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งของการสร้างเว็บไซต์ เนื่องจากเป็นสิ่งแรกที่ผู้คนจะได้รู้จักคุณในโลกออนไลน์ และยังเปรียบเสมือนการบอกที่อยู่ของคุณให้กับคนอื่นๆ ได้รู้ ดังนั้นชื่อโดเมนควรเป็นชื่อที่จดจำง่าย มีความน่าสนใจ และมีความหมายสื่อถึงตัวตนของคุณ ทันทีที่คุณจดทะเบียนใช้ชื่อโดเมนนั้นแล้ว คนอื่นๆ จะไม่สามารถใช้ชื่อซ้ำกับคุณได้จนกว่าชื่อโดเมนนั้นจะหมดอายุหรือมีสถานะว่าง ตรวจสอบสถานะชื่อโดเมนว่าใช้งานได้หรือไม่